เขาพนมรุ้ง (Buriram)

Day 2.2 เที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง  ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร เขาพนมรุ้ง ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณที่มีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผัง ตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร  ปัจจุบันปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์และ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ ...

ไหว้พระใหญ่เมืองบุรีรัมย์ (Buriram)

Day 2.1 วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง (Khao Kradong Volcano Forest Park) จากบ้านสนวนนอกจุดหมายต่อไปของพวกเราคือ “พระใหญ่” ป๋าบอกว่ามาเที่ยวบุรีรัมย์ทั้งที่ต้องมาที่นี่ เขากระโดง ใช้เวลาเดินทางแค่ครึ่งชั่วโมงก็มาถึงแล้ว มาเที่ยววัดนี้เค้ามีให้เดินบันไดด้วยนะ แต่ป๋าบอกว่าเราแก่แล้วไปทางลัดดีกว่า ป๋าเลยขับรถพาพวกเรามาถึงบนเขาแบบไม่ต้องเหนื่อย รู้ใจจริงๆ เค้าถึงบอกว่าอยากทำอะไรให้ทำตั้งแต่สมัยหนุ่มสาว เพราะมีแรงที่จะทำได้ พอแก่แล้วต่อให้ใจอยากทำสังขารมันก็ไม่เอื้ออำนวยแล้ว ดูทางเดินขึ้นดิแค่เห็นก็เหนื่อยแล้วล่ะ 555 เขากระโดง เดิมเรียกเป็นภาษาเขมรว่า “พนมกระดอง” หมายถึง ภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนกระดองเต่า จัดเป็นซากภูเขาไฟที่มีสภาพดีและอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย (ประมาณ 3 – 9 แสนปี) ประกอบด้วยเนินเขา 2 ...

บุรีรัมย์ยูไนเต็ด (Burirum)

Day 1 เที่ยวบุรีรัมย์ตำน้ำกิน บุรีรัมย์ทำไมต้องตำน้ำกินมันมีที่มานะ ในอดีตมีการขาดแคลน้ำในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วด้วยความเฉลียวฉลาดของชาวบุรีรัมย์ในสมัยก่อน ได้นำความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยการ “ตำน้ำกิน” คือ การขุดหลุมดินขนาดย่อมขึ้นมา แล้วตักเอาโคลนตมในบ่อ สระหรือบึง มาใส่หลุมที่ขุดไว้ ย้ำด้วยเท้าจนเป็นเลน จากนั้นนำใส่ครุไม้ไผ่ยาชันแล้วตำด้วยไม้ให้โคนเลนมีความหนาแน่นสูงขึ้น ปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน น้ำจากโคลนเลนจะปรากฎเป็นน้ำใสอยู่ข้างบน จึงตักไปใช้บริโภคได้ “บุรีรัมย์ตำน้ำกิน” จึงเป็นคำพังเพยที่อยู่ในความทรงจำและความภาคภูมิใจในอดีตของชาวบุรีรัมย์ ในฐานะที่เป็นคำพังเพยที่แสดงถึงความยากลำบากและทรหดอดทนของบรรพบุรุษผู้บุกเบิกแผ่นดิน ให้ประโยชน์ตกทอดแก่ลูกหลาน เหลน ในปัจจุบัน จากอดีตสู่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก บุรีรัมย์ในวันนี้เจริญมากจริงๆ เพราะมีผู้นำดีบุรีรัมย์วันนี้จึงเปลี่ยนไป ตามไปชมเมืองบุรีรัมย์กันค๊า ทริปนี้เราบินจากดอนเมืองแน่นอนต้องใช้บริการฝากที่จอดรถของที่จอดรถดอทคอม โดยการเอารถไปจอด จากนั้นเราก็จองโรงแรม The Prima ที่อยู่ใกล้ๆ ...