พระบรมธาตุสวี (Sawi)

Day 3 ชมความงามพระธาตุสวี หลังจากออกจากอ่าวครามโฮมสเตย์ พวกเราก็ขับต่อไปยังวัดพระธาตุสวีที่อยู่ไม่ไกลจากอำเภอสวีมากนัก ไหนๆ มาเที่ยวแล้วก็ต้องแวะมาไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเอาฤกษ์เอาชัยกันเสียหน่อย วัดพระธาตุสวี อยู่ในอำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอสวี  อยู่ติดกับแม่น้ำสวีห่างจากตัวอำเภอประมาณ 3 กิโลเมตร  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นหนึ่งในจตุธรรมธาตุของทางภาคใต้ มีอายุเก่าแก่กว่า 700 ปี มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยา ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุเจดีย์หนึ่งในจตุธรรมธาตุ ลักษณะขององค์พระธาตุคล้ายกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช แต่มีขนาดย่อมกว่า พระธาตุสวีได้มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง ในปัจจุบันพระบรมธาตุสวีมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม 2 ชั้น ฐานชั้นล่างกว้าง 8.50 เมตร ประดับด้วยซุ้มรูปช้างโผล่ศีรษะและขาหน้า เสมือนค้ำเจดีย์ไว้ด้านละ 3 ซุ้ม สลับกับรูปยักษ์ถือกระบองและประดับด้วยเสาหลอก 6 ต้น ...

วัดร่องเสือเต้น (Blue Temple)

Day4 เที่ยววัดสีฟ้าความศรัทธาใหม่แห่งเมืองเชียงราย วัดร่องเสือเต้น หรืออีกหนึ่งชื่อเรียกที่คุ้นหูกว้าคือ วัดสีฟ้าแห่งเมืองเชียงราย วัดนี้ตั้งอยู่ในเมืองเชียงรายเลย ใครลงเครื่องเชียงรายสามารถแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ไม่ไกลเลย ใครที่มีวีลแชร์สามารถพามาได้สบายมาก เพราะเป็นทางลาดตลอดวัด ในบางจุดเค้าก็ทำทางให้สามารถเข็นไปได้ด้วย วัดนี้ตั้งอยู่ในชุมชนร่องเสือเต้นริมแม่น้ำกก แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าในอดีตวัดนี้เคยเป็นวัดที่ถูกทิ้งร้างมาก่อนนับร้อยปี จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เล่าว่า ในสมัยนั้นยังไม่มีบ้านเรือนและผู้คนอาศัยอยู่มากนัก สัตว์ป่าจึงมีจำนวนมากโดยเฉพาะเสือ ชาวบ้านที่ผ่านแถวนั้นมักชอบเห็นเสือกระโดดข้ามร่องน้ำไปมา จึงเรียกบริเวณนี้ต่อๆกันมาว่า “ร่องเสือเต้น” ต่อมาภายหลังเมื่อชุมชนเริ่มขยายตัว ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันบูรณะซ่อมแซมวัดแห่งนี้ขึ้นมาอีกครั้ง และได้ตั้งชื่อว่า “วัดร่องเสือเต้น” วัดร่องเสือเต้น ตั้งอยู่ที่ชุมชนร่องเสือเต้น ริมแม่น้ำกกครับ ภาพความคึกคักของประชาชนที่เดินทางมากราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นี่ ทำให้เราแทบไม่อยากเชื่อเลยว่าที่นี่เคยเป็นวัดที่ถูกทิ้งร้างมาก่อนนับร้อยปีครับ มีเพียงเศษซากโบราณสถานที่หลงเหลือไว้ ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ของหมู่บ้านก็เล่าสืบต่อกันมาว่า บริเวณนี้เมื่อก่อนยังเป็นป่า ไม่มีผู้คนมาตั้งรกรากมากนัก ชาวบ้านก็มักจะเจอเสือวิ่งกระโดดข้ามร่องน้ำ ออกหากินเป็นประจำ เลยเรียกแถวนี้ว่า “ร่องเสือเต้น” ไปโดยปริยาย วิหารวัดร่องเสือเต้น ...